วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ ( Electrodynamometer )

อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ (Electrodynamometer)


          อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์จะมีลักษณะคล้ายกับมูฟเม้นท์มิเตอร์แบบ ดี-อาร์ซองวาล โดยแทนที่แม่เหล็กถาวรด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnet ) ซึ่งเป็นขดลวดอยู่กับที่ (Fixed coil) แต่แยกเป็นสองส่วน เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กในบริเวณที่ส่วนขดลวดเคลื่อนที่ ( Moving coil )  ขดลวดอยู่กับที่ (Fixed coil) จะใช้ลวดขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดค่าแอมแปร์-รอบ มากพอที่จะเกิดแรงบิดให้เข็มเบี่ยงเบนได้พอเพียง เรียกขดนี้ว่า ขดกระแส ( Current Coil ) ส่วนขดลวดที่เคลื่อนที่เรียกว่า ขดแรงดัน ( Voltage Coil ; Moving Coil) ผลของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากขดลวดกระแสและขดลวดแรงดัน ที่กระท้าต่อกัน เมื่อมีกระแสผ่านจะท้าให้เกิดแรงบิดเช่นเดียวกับมูฟเม้นท์มิเตอร์แบบ ดี-อาร์ซองวาล แรงบิดนี้จะถูกต้านโดยสปริง ซึ่งใช้เป็นทางผ่านของกระแสที่เข้าสู่ขดลวดแรงดันด้วย เข็มชี้ที่ติดตั้งบนส่วนเคลื่อนที่ จะแสดงขนาดของปริมาณซึ่งอาจปรับเทียบเป็นค่าโวลท์ , แอมแปร์ หรือ วัตต์ 


โครงสร้าง

- ถ้าแทนที่แม่เหล็กถาวรใน PMMC ด้วยขดลวดที่ยึดติดกับที่แล้วปล่อยกระแสไหลผ่านทั้ง
ขดลวดที่อยู่กับที่และที่ขดลวดหมุน จะเกิดแรงบิดทำให้ขดลวดเคลื่อนที่เช่นเดียวกับใน
กรณีของ PMMC ที่ใช้ในเครื่องวัดกระแสตรง โดยแรงบิดจะขึ้นผลคูณของกระแสที่ขดลวดทั้งสอง





การประยุกต์เป็นเครื่องวัด

- แอมป์ มิเตอร์แบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ โดยการต่อขดลวดทั้งสองอนุกรมกันและ
ต่อชันต์เพื่อแบ่งกระแสไม่ให้เกินขีดจำกัดของขดลวดเคลื่อนที่


    การเบี่ยงเบนของเข็มจะเป็นสัดส่วนกับกระแส rms ยกกำลังสอง




- โวลต์มิเตอร์แบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ โดยการต่อขดลวดทั้งสองอนุกรมกันและอนุกรมกับตัวต้านทาน



  อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ จะสามารถทนกระแสได้สูงกว่า มูฟเม้นท์มิเตอร์แบบ ดี-อาร์ซองวาล เมื่อไม่มีความต้านทานต่อขนานเพิ่มเข้าไป แต่จะมีความไวต่้ากว่า โดยทั่วไปแล้วจะประมาณ 20 - 100 Ω / V
แสดงอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์มูฟเม้นท์

           จากรูป เป็นลักษณะโครงสร้างของอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์มูฟเม้นท์ที่น้ามาใช้เป็นอิเล็กโทรไดนาโม มิเตอร์ที่ใช้วัดกระแสได้สูงขึ้นโดยการต่อความต้านทานขนานกับส่วนของขดลวดเคลื่อนที่
หรือน้ามาวัดแรงดันโดยการต่อความต้านทานอนุกรมเข้าไปนั่นเอง


          รูปแสดงการนำอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์มาวัดกระแส และแรงดันจากรูป เป็นการต่อความต้านทานขนานกับ Moving coil เพื่อใช้เป็นแอมมิเตอร์ และจากรูป เป็นการต่อความต้านทานอนุกรม ( Multiplier ) เพื่อใช้เป็นโวลท์มิเตอร์



ลักษณะจำเพาะของเครื่องวัดแบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์

1. สเกลของแอมมิเตอร์และโวลท์มิเตอร์จะมีลักษณะกฎก้าลังสอง โดยประมาณ ส่วนสเกลของวัตต์
มิเตอร์จะมีลักษณะเป็นเชิงเส้น
2. ต้นทุนในการผลิตสูงกว่า และมีการสูญเสียก้าลังสูงกว่าเครื่องวัดแบบ PMMC
3. ใช้วัดค่า rms ของรูปคลื่นกระแสสลับ โดยไม่ค้านึงถึงรูปร่างของคลื่น
4. เหมาะส้าหรับใช้ทั้งวงจรกระแสตรงและกระแสสลับ โดยไม่ถูกกระทบกระเทือนโดยความถี่บางรุ่น
สามารถใช้ในพิสัยความถี่จากกระแสตรงถึง 25 KHz
5. สนามแม่เหล็กรายรอบจะมีผลกระทบต่อการท้างานของเครื่องวัดแบบนี้ ดังนั้นจะต้องวางชุด
ขดลวดภายในส่วนที่ห่อหุ้ม เพื่อป้องกันสนามแม่เหล็กภายนอก

      









เเหล่งที่มา 
- หนังสือ การวัด เเละ เครื่องวัดไฟฟ้า ผู้เขียน รศ.ดร. เอก ไชยสวัสดิ์ 

- หนังสือ Elements of Electrical and Electronic Instrumentation ผู้เขียน  Kurt S. Lion





3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่เขียนบทความนี้ครับได้ความรู้มากเลยครับ เนื้อหาครบถ้วนดีครับ มีรูปภาพประกอบเยอะดี ถ้าเป็นไปได้ขอตัวใหญ่กว่านี้อีกหน่อยก็ดีครับ และขอแนะนำเว็ปไซด์ ที่ขาย มิเตอร์แบบเข็มที่มี range ให้เลือกหลากหลาย ถ้าหาที่ไหนไม่ได้
    ลองไปดูที่นี่ครับ http://www.qmax100.com/category/19/panel-meter/analog-volt-meter

    ตอบลบ
  2. Slot Machine Map - MGM Grand Hotel Casino & Spa
    MapYO: The MGM Grand Hotel 김천 출장안마 Casino 대구광역 출장샵 & Spa, a 4 전라남도 출장샵 star hotel 용인 출장안마 located near the Las Vegas Strip. 3.5 miles from the Strip, Las Vegas Strip 안성 출장마사지

    ตอบลบ